“จงอย่าเชื่อตามที่ใครต่อใครบอก
โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวของเราเอง
เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ศิลปินจะต้องมาบอกว่า
สร้างงานด้วยวัตถุประสงค์อะไร
แต่ควรสนใจสิว่าแรงจูงใจของศิลปินนั้นมาจากไหน
ทีนี้เราก็เข้าใจตรงกันแล้วว่าภาพนั้นจะหมายถึงอะไรก็ได้
ตามแต่เราจะตีความ”
– Marlene Dumas
นิทรรศการชุด Self-Portraits of others ผลงานของ Christopher Stern ศิลปินชาวอเมริกัน
ผู้ใช้ฝีแปรงและชั้นของสีนำเสนอฟิกเกอร์
และภาพ
Portrait สะท้อนอารมณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลัน
สื่อบรรยายให้เห็นถึงแรงบันดาลใจที่มีอิทธิพลต่อตัวเขา
โดยภาพทั้งหมดถูกวาดขึ้นแบบไม่มีการตระเตรียมล่วงหน้า
ให้บรรยากาศดูราวจะได้ยินความเงียบเปล่งเสียงดังออกมา
สีหน้า แววตาของภาพแสดงอารมณ์อันหลากหลาย
ทั้งชวนตั้งคำถาม
และเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้หยุดคิดตีความ
Christopher Stern ทำความเข้าใจกับ “สิ่งที่อยู่ภายใน (Inwardness)” ของตน ผ่านบริบทของการเข้าถึงภาพตรงหน้า
โดยได้แรงบันดาลใจจาก
ทั้งสิ่งพิมพ์
ภาพยนตร์
และเว็บไซต์
ก่อเป็นรูปร่างของสิ่งที่ไม่รู้บนฐานของภาพที่ปรากฏ อาศัย “การเข้าไปร่วมอยู่” (involvement) กับตัวแบบ แล้วถ่ายทอดมุมมองของตนเองออกมา โดยให้ความหมายกับ “ผู้ชม” ในฐานะผู้ตีความหรือผู้หาความหมาย
ดังนั้นผลงานที่รังสรรค์ออกมาจึงเป็น
“สื่อที่สะท้อนตัวตนของศิลปิน”
แม้ว่าจะเป็นภาพเหมือนของสิ่งอื่นก็ตาม
บางส่วนของนิทรรศการ ชวนให้นึกถึง “มือ” ในภาพ Las manos del terror (1973) หนึ่งในผลงานของ Osvaldo Guayasamin ที่แฝงความหมายเชิงสัญญะ
ถึงการไม่รู้จักพอ
การขอและเรียกร้อง
จนไปถึงมือของการสวดมนต์ขับไล่ความหวาดกลัว แต่ “มือ” ในภาพของ Christopher Stern แสดงออกราวกับเป็นเครื่องมือที่จะถ่ายทอด สารจากภายในถึงความรู้สึกของศิลปิน
ขณะเฝ้าสังเกตและบันทึกแรงบันดาลใจที่ปะทุขึ้นจากภาพเบื้องหน้า
“มือ” ในภาพของ
Christopher Stern จึงเป็นเหมือนสีหน้าและอารมณ์บนใบหน้าของเขาเอง
ผลงานชุด Self-Portraits of Others เป็นภาพเหมือนที่ศิลปิน ตั้งใจแสดงให้เห็น
ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินกับภาพที่เขาเลือกมาเป็นแบบ
หรือความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้รับชมในภายหลังมากกว่าต้นแบบ
ด้วยเหตุนี้รูปทรงอันเป็นจุดสนใจที่ปรากฏบนผืนผ้าใบของศิลปิน
จึงออกมาในลักษณะที่ไม่มีการพยายามจัดองค์ประกอบของภาพ
หรือท่าทางของตัวแบบแต่อย่างใด
It’s not the artists’ subject matter that’s under fire, but
their motivation that’s on trail. Now that we know that images can mean
whatever, whoever wants them to mean, we don’t trust anybody anymore,
especially ourselves.” Marlene Dumas
Self-Portraits of Others, a work by an American artist,
Christopher Stern, delivers a sense of expression that reveals much of the
inspirations behind his work. Through spontaneous brushstrokes, Christopher
Stern’s portraits leave their audience oblivious to the absence of words. These
highly expressive portraits capture emotions in the eyes and the face of each
character that are open to viewers’ own interpretation.
Christopher Stern employed what he has harnessed from his
inwardness to give contexts to these portraits. The work deeply reflects the
individuality of the painter while taking the shape of collective random
figures. Inspired by print-images, films and websites, he has created a series
of semi-abstract images - inviting the audience to have involvement with the
characters and interpret them from their own viewpoint. This delightfully gives
the audience an investigative and analytical role.
Part of this exhibition resonates with the famous hands from
1973 Las manos de terror by Osvaldo Guayasamin, which convey a sense of greed,
desperation and fear. Christopher Stern’s hands, however, are represented as a
mean by which the artist expresses his inner feelings. The hands pose as his
emotions and expressions that appear on the faces of his characters.
Self-Portraits of Others is a collection that appears to
emphasize not so much the subject of the painting itself, but rather the
audience’s direct relationship with the artist, , or perhaps the artist’s
relationship with the images he chooses to paint. It may be for this reason that the figures
generally are painted as the only focus of the canvas, generally alone,
indeterminately contextualized.
No comments:
Post a Comment