#Freelance
ฉากงานศพพ่อพงศธร (เพื่อนยุ่น) อาจเป็นภาพใหม่ไม่ชินตาของใครหลายคน พิธีศพแบบจีน ลูกชายคนโตจะ ป้อนข้าว ป้อนน้ำ เอาตะเกียบคีบข้าว เต้าหู้ น้ำตาลทรายแดงไปแตะริมฝีปากผู้ตาย ถือเป็นการทดแทนบุญคุณ ที่เค้าเลี้ยงดูเรามา
ทำไม นวพล ถึงเลือกฉายภาพงานศพแบบจีนในหนังของตัวเอง มากกว่างานแบบพุทธที่มีภาพจำอันชัดเจน ประเด็นทางครอบครัวนี้เราสนใจเป็นการส่วนตัว ด้วยหนังจากค่ายนี้หลายเรื่องดูมีลักษณะของผู้มีปมเกลียดพ่อ (oedipus) เช่น ความสัมพันธ์ของครอบครัวทั้งเพื่อนบ้านและตัวเอกในลัดดาแลนด์ และโดยส่วนใหญ่บทบาทตัวละครที่เป็นพ่อของ GTH มักจะเป็นพ่อแบบที่แบนราบไม่ก็ติดกับความเป็นพ่อแบบที่สังคมยัดเยียดให้ อารมณ์แบบ first fatherhood moment พยายามดัดตัวเองให้มีความเป็นพ่อ เป็นผู้นำครอบครัว ฉากงานศพนี้คล้ายจะสะท้อนให้เห็นภาพความสัมพันธ์ครอบครัวที่มีลำดับและสายใย(ผ่านพิธีกรรมแบบจีน-ซึ่งเชื่อว่าต่อให้ไม่รู้ว่าตัวละครทำอะไรอยู่ ก็ถือโอกาสสะกิดให้สงสัยและกลับไปหาคำตอบ)
ยุ่นพาตัวเองออกไปไกลจากจุดนั้น หนังคุยกับเราผ่านความคิดของยุ่น แต่ตลอดทั้งเรื่องยุ่นไม่เคยเอ่ยถึงพ่อ(เอาว่าขนาด #พี่สุชาติ ยังมีตัวตน) แม้แต่รูปถ่ายที่แม่ฝาก retouch ก็ไม่ได้ใกล้เคียงกับ "ภาพครอบครัว" เลย
จุดเปลี่ยนหลังจากที่ยุ่นหัวกระแทกโต๊ะแล้ว เกิดมรณานุสติระลึกได้ถึงการมีอยู่ของ "สายใย"/"ความสัมพันธ์" ที่ตัวเองมี สิ่งนั้นเหมือนเป็นตัวแทนของครอบครัวเท่าที่ยุ่นนึกออก ความสัมพันธ์ที่เคยคิดมาตลอดว่าตัวเองก็ครอบครองไว้ มันเป็น connection ไม่ใช่ bonding โชคดีที่มันเป็นภาพยนตร์ และโชคดีที่ นวพล ไม่ใจร้ายจนเกินไป ยุ่นจึงยังได้ไปต่อ อาจจะก้าวข้ามบางอย่างในจิตใจของตน หันกลับมาทบทวนและหวนมองรอบๆตัวเอง แต่บางชีวิตไม่ได้ถูกกำกับโดย นวพล ถ้ามีโอกาสจงคว้าไว้ ถ้าคิดได้ไม่ว่าจะตอนไหนไม่มีสายเกินไป อย่าให้คนที่คาดหวังกับเราต้องผิดหวัง และก็อย่าให้ตัวเองต้องจบชีวิตไปลำพัง ดูแลคนใกล้ตัวอย่าให้ใครต้องกลายเป็น "ผู้ป่วยนอก(วงกลม)"
ทำไม นวพล ถึงเลือกฉายภาพงานศพแบบจีนในหนังของตัวเอง มากกว่างานแบบพุทธที่มีภาพจำอันชัดเจน ประเด็นทางครอบครัวนี้เราสนใจเป็นการส่วนตัว ด้วยหนังจากค่ายนี้หลายเรื่องดูมีลักษณะของผู้มีปมเกลียดพ่อ (oedipus) เช่น ความสัมพันธ์ของครอบครัวทั้งเพื่อนบ้านและตัวเอกในลัดดาแลนด์ และโดยส่วนใหญ่บทบาทตัวละครที่เป็นพ่อของ GTH มักจะเป็นพ่อแบบที่แบนราบไม่ก็ติดกับความเป็นพ่อแบบที่สังคมยัดเยียดให้ อารมณ์แบบ first fatherhood moment พยายามดัดตัวเองให้มีความเป็นพ่อ เป็นผู้นำครอบครัว ฉากงานศพนี้คล้ายจะสะท้อนให้เห็นภาพความสัมพันธ์ครอบครัวที่มีลำดับและสายใย(ผ่านพิธีกรรมแบบจีน-ซึ่งเชื่อว่าต่อให้ไม่รู้ว่าตัวละครทำอะไรอยู่ ก็ถือโอกาสสะกิดให้สงสัยและกลับไปหาคำตอบ)
ยุ่นพาตัวเองออกไปไกลจากจุดนั้น หนังคุยกับเราผ่านความคิดของยุ่น แต่ตลอดทั้งเรื่องยุ่นไม่เคยเอ่ยถึงพ่อ(เอาว่าขนาด #พี่สุชาติ ยังมีตัวตน) แม้แต่รูปถ่ายที่แม่ฝาก retouch ก็ไม่ได้ใกล้เคียงกับ "ภาพครอบครัว" เลย
จุดเปลี่ยนหลังจากที่ยุ่นหัวกระแทกโต๊ะแล้ว เกิดมรณานุสติระลึกได้ถึงการมีอยู่ของ "สายใย"/"ความสัมพันธ์" ที่ตัวเองมี สิ่งนั้นเหมือนเป็นตัวแทนของครอบครัวเท่าที่ยุ่นนึกออก ความสัมพันธ์ที่เคยคิดมาตลอดว่าตัวเองก็ครอบครองไว้ มันเป็น connection ไม่ใช่ bonding โชคดีที่มันเป็นภาพยนตร์ และโชคดีที่ นวพล ไม่ใจร้ายจนเกินไป ยุ่นจึงยังได้ไปต่อ อาจจะก้าวข้ามบางอย่างในจิตใจของตน หันกลับมาทบทวนและหวนมองรอบๆตัวเอง แต่บางชีวิตไม่ได้ถูกกำกับโดย นวพล ถ้ามีโอกาสจงคว้าไว้ ถ้าคิดได้ไม่ว่าจะตอนไหนไม่มีสายเกินไป อย่าให้คนที่คาดหวังกับเราต้องผิดหวัง และก็อย่าให้ตัวเองต้องจบชีวิตไปลำพัง ดูแลคนใกล้ตัวอย่าให้ใครต้องกลายเป็น "ผู้ป่วยนอก(วงกลม)"
ปล.ใจแลกใจ บางเพลงเคยว่าไว้ และบางใครเคยเอ่ยถึง
No comments:
Post a Comment