26.9.16

Self-Portraits of Others

 จงอย่าเชื่อตามที่ใครต่อใครบอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวของเราเอง เพราะมันไม่ใช่เรื่องที่ศิลปินจะต้องมาบอกว่า สร้างงานด้วยวัตถุประสงค์อะไร แต่ควรสนใจสิว่าแรงจูงใจของศิลปินนั้นมาจากไหน ทีนี้เราก็เข้าใจตรงกันแล้วว่าภาพนั้นจะหมายถึงอะไรก็ได้ ตามแต่เราจะตีความ” – Marlene Dumas



นิทรรศการชุด Self-Portraits of others ผลงานของ Christopher Stern ศิลปินชาวอเมริกัน ผู้ใช้ฝีแปรงและชั้นของสีนำเสนอฟิกเกอร์ และภาพ Portrait สะท้อนอารมณ์ที่เกิดขึ้นฉับพลัน สื่อบรรยายให้เห็นถึงแรงบันดาลใจที่มีอิทธิพลต่อตัวเขา โดยภาพทั้งหมดถูกวาดขึ้นแบบไม่มีการตระเตรียมล่วงหน้า ให้บรรยากาศดูราวจะได้ยินความเงียบเปล่งเสียงดังออกมา สีหน้า แววตาของภาพแสดงอารมณ์อันหลากหลาย ทั้งชวนตั้งคำถาม และเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้หยุดคิดตีความ

Christopher Stern ทำความเข้าใจกับสิ่งที่อยู่ภายใน (Inwardness)” ของตน ผ่านบริบทของการเข้าถึงภาพตรงหน้า โดยได้แรงบันดาลใจจาก ทั้งสิ่งพิมพ์ ภาพยนตร์ และเว็บไซต์ ก่อเป็นรูปร่างของสิ่งที่ไม่รู้บนฐานของภาพที่ปรากฏ  อาศัยการเข้าไปร่วมอยู่” (involvement) กับตัวแบบ  แล้วถ่ายทอดมุมมองของตนเองออกมา โดยให้ความหมายกับผู้ชมในฐานะผู้ตีความหรือผู้หาความหมาย ดังนั้นผลงานที่รังสรรค์ออกมาจึงเป็นสื่อที่สะท้อนตัวตนของศิลปินแม้ว่าจะเป็นภาพเหมือนของสิ่งอื่นก็ตาม

บางส่วนของนิทรรศการ ชวนให้นึกถึงมือในภาพ Las manos del terror (1973) หนึ่งในผลงานของ Osvaldo Guayasamin ที่แฝงความหมายเชิงสัญญะ ถึงการไม่รู้จักพอ การขอและเรียกร้อง จนไปถึงมือของการสวดมนต์ขับไล่ความหวาดกลัว  แต่มือในภาพของ Christopher Stern แสดงออกราวกับเป็นเครื่องมือที่จะถ่ายทอด สารจากภายในถึงความรู้สึกของศิลปิน ขณะเฝ้าสังเกตและบันทึกแรงบันดาลใจที่ปะทุขึ้นจากภาพเบื้องหน้ามือในภาพของ Christopher Stern จึงเป็นเหมือนสีหน้าและอารมณ์บนใบหน้าของเขาเอง 

ผลงานชุด Self-Portraits of Others เป็นภาพเหมือนที่ศิลปิน ตั้งใจแสดงให้เห็น ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินกับภาพที่เขาเลือกมาเป็นแบบ หรือความสัมพันธ์โดยตรงกับผู้รับชมในภายหลังมากกว่าต้นแบบ ด้วยเหตุนี้รูปทรงอันเป็นจุดสนใจที่ปรากฏบนผืนผ้าใบของศิลปิน จึงออกมาในลักษณะที่ไม่มีการพยายามจัดองค์ประกอบของภาพ หรือท่าทางของตัวแบบแต่อย่างใด


It’s not the artists’ subject matter that’s under fire, but their motivation that’s on trail. Now that we know that images can mean whatever, whoever wants them to mean, we don’t trust anybody anymore, especially ourselves.” Marlene Dumas

Self-Portraits of Others, a work by an American artist, Christopher Stern, delivers a sense of expression that reveals much of the inspirations behind his work. Through spontaneous brushstrokes, Christopher Stern’s portraits leave their audience oblivious to the absence of words. These highly expressive portraits capture emotions in the eyes and the face of each character that are open to viewers’ own interpretation.

Christopher Stern employed what he has harnessed from his inwardness to give contexts to these portraits. The work deeply reflects the individuality of the painter while taking the shape of collective random figures. Inspired by print-images, films and websites, he has created a series of semi-abstract images - inviting the audience to have involvement with the characters and interpret them from their own viewpoint. This delightfully gives the audience an investigative and analytical role.

Part of this exhibition resonates with the famous hands from 1973 Las manos de terror by Osvaldo Guayasamin, which convey a sense of greed, desperation and fear. Christopher Stern’s hands, however, are represented as a mean by which the artist expresses his inner feelings. The hands pose as his emotions and expressions that appear on the faces of his characters.


Self-Portraits of Others is a collection that appears to emphasize not so much the subject of the painting itself, but rather the audience’s direct relationship with the artist, , or perhaps the artist’s relationship with the images he chooses to paint.  It may be for this reason that the figures generally are painted as the only focus of the canvas, generally alone, indeterminately contextualized.




5.8.16

Creature Designers - The Frankenstein Complex

“Just because you can have a hundred werewolves running across the ceiling, doesn’t mean you should.” --- Rick Baker


Creature Designers - The Frankenstein Complex (Movie - 2015)
-----------------------------------------------------------

คุณอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อใครในหนังสารคดีเรื่องนี้เลย แต่คุณต้องเคยเห็นงานของพวกเขามาก่อนแน่ ๆ (ยิ่งถ้าเคยร่วมยุค 90 มาด้วยกันล่ะก็) เอางี้นะ ยังจำฉาก T-Rex งับตัวละครที่โชคร้ายที่สุดในโลกภาพยนตร์คนนั้นได้ไหมครับ (ตายขณะปลดทุกข์) ดูกี่ทีก็คงเดาได้ไม่ยากว่าฉากนั้นทำในคอมพิวเตอร์ แต่รู้หรือเปล่าว่า ฉากที่ velociraptor ตามตัวละครเด็กเข้ามาในครัวแล้วเงยหน้าร้องเรียกพวกน่ะ ใช้คนใส่ชุดยางมาแสดงนะ
                        
Matt Winston เล่าถึงตอนที่ Jurassic Park ออกฉาย แล้วผู้คนพากันพูดถึงการใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยสร้างเทคนิคต่าง ๆ ในหนัง (CGI – Computer-generated imagery) พ่อของเขากลับเกิดความรู้สึกสองอย่างพร้อม ๆ กัน อย่างแรกคือพยายามอย่างหนัก เพื่อบอกโลกว่าพวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของภาพยนตร์เรื่องนี้นะ สิ่งมีชีวิตที่เห็นในนั้นก็สร้างขึ้นมาจริง ๆ ด้วยฝีมือพวกเรานะ และอย่างที่สองคือ ลงทุนกับคอมพิวเตอร์แม้ว่าจะเพิ่งรู้สึกแย่กับมันมามากแค่ไหนก็ตาม ณ เวลานั้นสิ่งที่เขาคิดมีเพียงอย่างเดียว “Adapt or die.”
                           
หนังเล่าเรื่องตาม Timeline ประวัติศาสตร์การใช้เอฟเฟคในภาพยนตร์ เฉพาะเจาะจงที่เทคนิคพิเศษในการสร้างสิ่งมีชีวิตที่ดูแปลกตาตั้งแต่ แมลง ,ไดโนเสาร์ ,ปิศาจ ,หุ่นยนต์ ไปจนมนุษย์ต่างดาว ส่วนตัวพยายามจะเลี่ยงใช้คำว่า สัตว์ประหลาด เพราะมันออกจะดูแคบไปสักหน่อยที่จะเลือกใช้แค่คำนี้ และตลอดทั้งเรื่อง เหล่านักสร้างหุ่นจากจินตนาการใช้คำเรียกผลงานของตัวเองว่า Creatures ที่สามารถใช้แทนสิ่งที่ทำขึ้น เพื่อให้มีชีวิตได้ทุกรูปแบบ จะสวยงามหรือน่าหวาดหวั่น พวกเขาก็รักมันเท่า ๆ กัน
เราสงสารและรู้สึกเศร้ามาก ๆ ตอนเห็นสายตาของลุง Phil Tippett ที่เคยถึงกับล้มป่วยเมื่อรู้ว่าตัวเอง ถูกแย่งงานโดย CGI แต่เราก็ยังเห็นร่องรอยความสุขจาก Stand Winston ทั้งที่แกปรากฏในเรื่องแค่เป็นภาพฟุตเทจ เรายิ้มและจำแกได้แม่นเพราะลุงแกดูโคตรมีความสุขเลย วิ่งเล่นกับหุ่นที่ตัวเองสร้างอย่างกับเด็กเห่อของ และไม่แปลกใจที่บริษัทของแกที่ลูกชายมาสืบทอด มีที่ทางอย่างมั่นคงอยู่ในวงการ ก็อย่างที่แกเคยพูดไว้แหละ ถึงมันจะเจ็บแค่ไหนถ้าไม่ปรับตัวก็ถูกทิ้งให้ตาย เลือกเอา

หลายคนในเรื่องระบายความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ บ่นถึงความฉาบฉวยของโลกปัจจุบัน เลยไปจนถามหาความเคารพในงานศิลปะ คอมพิวเตอร์เป็นประตูบานใหม่อีกบาน เปิดโลกให้กว้างออกจากขีดจำกัดของงานสร้างแบบเดิม แต่สุดท้ายก็ยังต้องพึ่งฝีมือคน คอยคิดและกำกับทั้งทิศทาง การดำเนินเรื่อง และองค์ประกอบศิลป์ เราทุกคนต่างมีวันเวลาเป็นของตัวเอง การให้ความสำคัญกับสิ่งที่ตัวเองรักนั้นต่างหาก ที่จะพาเราไปอยู่ตรงไหนสักจุดจนได้




ฉาก เวโลซีแรพเตอร์ ที่อ้างอิงถึง

https://www.youtube.com/watch?v=dnRxQ3dcaQk

1.8.16

Enough for life

"เรากำลังอยู่ในยุคที่อาหารเป็นเพียงไม่กี่สิ่งที่ iPhone ทำไม่ได้"
-- Danny meyer

Date: 31 July 2016
Place: Enough for Life

The place

เราเชื่อกันว่า-อย่างน้อยก็เราสองคนอ่ะนะ อากาศหลังฝนและอาการเพลียจากการตื่นเช้า สามารถแก้ให้หาย ได้ด้วยอาหารดี ๆ และ "Keumbung-Eo Kitchen" ดูเหมือนจะตอบโจทย์นั้นได้ดีที่สุด

หลังจากเสร็จธุระในตอนบ่าย (จริง ๆ คือเล่นกับหมาและเผลอหลับจนเย็น) ก็พากันขับรถออกจากบ้าน ตรงดิ่งตามพิกัดไปแถวหลังวัดร่ำเปิง นอกจากหิวแล้ว อีกสาเหตุสำคัญก็คือ เราเล็งร้านนี้กันไว้ตั้งแต่ก่อนจะมีวันหยุดเปื่อย ๆ ให้ได้ออกเตร่แบบนี้ (ซะที)
ร้าน Keumbung-Eo Kitchen อยู่บนพื้นที่เหมือนเป็น "ข่วงบ้าน" (community space) แต่พิเศษกว่าที่อื่นเพราะเป็น "ชุมชนเกาหลี" เรียกว่านิคมเกาหลีเพื่อชาวเกาหลีในเชียงใหม่ก็ว่าได้ ทั้งบริเวณแบ่งออกเป็น 3 zones มีโฮสเทลพร้อมสระว่ายน้ำ ,ร้านกาแฟขนาดพอดีกับฝีมืออย่าง day off day และร้านอาหาร Korean Homemade Style ร้านนี้เลย

เมนูของร้านก็แล้วแต่วันนะ ช่วงนี้ยังอินดี้อยู่ ได้ลองข้าวกับแซลม่อนย่าง ราดน้ำซอส กินแกล้มไชเท้าดอง และกระเจี๊ยบย่าง อีกเซ็ทเป็นไก่ผัดซอสเกาหลีแบบ BBQ แน่นอนทั้งหมดมาพร้อม ซุป ,กิมจิ และเครื่องเคียงสารพัด ปิดท้ายวันนี้ด้วย เงาะ มะม่วง มะละกอสุก ราดเสาวรสผสมกับน้ำผึ้ง ให้ล้างคอ มีวันดีดีกับอาหารอีกวันแล้วสินะ



25.7.16

Things to come

Things To Come
#ชีวิตนี้มีความสตรอง




"นี่แหละคือความเสียใจ"

ก่อนตีตั๋วเข้าโรง ก็คิดว่าจะต้องน้ำตานองหน้าเละเทะแน่นอน แต่พอดูจนจบ หลังพาตัวเองออกมาจากโรงแล้ว กลับพบว่า เออว่ะ นี่แหละชีวิต ไอ้บรรดาอารมณ์ฟูมฟายเสียใจร้องไห้เนิ่นนานแบบตอนสมัยวัยรุ่นเนี่ย พออายุสักประมาณสามสิบก็แทบไม่เหลือแล้ว ยิ่งถ้าอายุรุ่นราวคราวเดียวกับ Nathalie (Isabelle Huppert) ในเรื่องล่ะก็ คงเห็นและผ่านเรื่องต่าง มามากพอ จนเรียนรู้ได้ว่าชีวิตต้องไปต่อสินะ
หนังเล่าเรื่องผู้หญิงเลยวัยกลางคนมาหน่อย ที่ผจญสารพัดชะตากรรม ตั้งแต่ สามีคบซ้อน เท่านั้นไม่พอยังมาบอกเลิก ขอแยกไปอยู่กับกิ๊กใหม่อีก งานที่ทำมาทั้งชีวิต ก็มีการเปลี่ยนแปลงนู่นนี่นั่นสารพัดให้จุกจิก ต้องดูแลแม่ที่ป่วยซึมเศร้า งอแง จนสุดท้ายก็เสียแม่ไป ถ้าใครกำลังคิดในใจว่าหนังอะไรวะใจร้ายฉิบเป๋ง เอ่อ เอาเข้าจริงชีวิตมันก็ประมาณนี้แหละ ไม่มีเวลาให้เสียใจกับอะไรนาน เดี๋ยวก็มีเรื่องใหม่มาเสิร์ฟให้ได้เสียน้ำตาอยู่เรื่อยจริง

เราชอบ เจ้าปองโดรา (Pandora) แมวมรดกขนดำ อ้วนฉุ ที่ไม่ได้โผล่มาแค่ประกอบเรื่องเฉย สำหรับเราคิดว่ามันช่วยดำเนินเรื่องให้เข้าใจง่ายขึ้นด้วยซ้ำไป ทั้งที่แค่ชื่อก็ไม่ชวนให้รับเลี้ยงแล้ว ตามตำนานกรีก แพนโดร่า เป็นชื่อหญิงสาวที่เทพประธานให้กับสองพี่น้องผู้สร้างมนุษย์ และมอบกล่องให้นางติดตัวมาด้วยหนึ่งใบ พร้อมกำชับว่าห้ามเปิด แน่นอนสุดท้ายนางก็เปิดอยู่ดี ภายในกล่อง เต็มไปด้วยควันสีดำอันนำมาซึ่ง ความทุกข์โศก โรคภัยไข้เจ็บ ความอดอยาก ความผิดหวัง ความชั่วร้ายและปีศาจต่าง แต่ก่อนที่อะไรจะเลวร้ายไปกว่านั้น ยังมีเรื่องดี ที่เหลืออยู่ก้นกล่องเป็นแสงสีเขียวน้อย พวกเราเรียกสิ่งนั้นว่าความหวังเจ้าเหมียวแก่อ้วนดำ ชวนให้คิดอะไรหลายอย่างในบทสนทนางง เหล่านั้น ทั้งแนะนำให้รู้จักความหวังในชีวิต ถ้าไม่ได้คิดลึกไปเองอ่ะนะ อย่างช็อตโชว์จับหนูกลับมา แล้วร้องให้ Nathalie ชมเนี่ย สะเทือนจนจุกมาถึงลิ้นปี่เลย เหมือนโดนแมวด่า "ถึงฉันจะแก่ อ้วน ไม่น่ารักแล้วไงฟะ ฉันก็ยังเป็นแมวที่จับหนูได้เก่งนี่หว่าดูสิ" สัญชาติญาณการเอาตัวรอดมันไม่ได้หายไปกับสิ่งแวดล้อมที่ลักพาเธอไปหรอก ลองทบทวนดู!!!

ขณะที่ส่องดูชีวิต Nathalie ไป ก็มีทั้งเข้าใจชวนให้คิดตาม และฉงนสงสัยไม่เข้าใจว่าทำไปทำไม อืม วิชาปรัชญาก็คงประมาณนี้มั้ง ถ้ามีข้อข้องใจสงสัยอะไรในชีวิต ลองกลับบ้านดู ลองมุ่งออกป่าหาธรรมชาติดู ลองแม้แต่พูดคุยกับทั้งสิ่งอันเป็นที่รักเป็นที่สุด หรือสิ่งที่จงชังจนอยากเบือนหน้าหนี ก็ขอให้ลอง เพราะชีวิตต้องผ่านสิ่งเหล่านั้นมันถึงจะเป็นชีวิต เราคงหนีและเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ นอกจากเป็นเราในปัจจุบัน

ปล.สุดท้ายมาเสียน้ำตาแค่สามฉาก ตอนนางสะอื้นคนเดียวกอดปองโดรา ,ตอนนางได้หลานแล้วลูกสาวร้องไห้หนักมาก แล้วก็ตอนสุดท้ายที่เพลงมันจับใจ